วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

นครปฐม พระราชวังสนามจันทร์

พระราชวังสนามจันทร์ ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ ไปทางทิศตะวันตกราว 2 กิโลเมตร มีพื้นที่ 888 ไร่ 3 งาน 24 ตารางวา พระราช วังแห่งนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตั้งแต่ยังทรงดำรง พระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งมี มูลเหตุจูงใจมาจากการบูรณะปฏิสังขรณ์ องค์พระปฐมเจดีย์ ที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพอพระราชหฤทัยเมืองนครปฐมเป็น อย่างยิ่ง ทรงเห็นว่าเป็นเมืองที่เหมาะสมสำหรับประทับพักผ่อน เนื่องจากมีภูมิประเทศสวยงามร่มเย็น ดังที่ได้ ทรงไว้ในลายพระหัตถ์ เรื่องการแก้ไขวิหารหลวงตอนหนึ่งว่า "ในรัชกาลที่ 5 ฉันได้ออกไปพักอยู่ที่เมืองนคร ปฐมบ่อย ๆจึงได้ใฝ่ใจในองค์พระนั้นมากแต่นั้นมา" เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นพระบรมโอรสาธิราชฯ และ ยังไม่ได้สร้างพระราชวังสนามจันทร์ เวลา เสด็จนครปฐมมักจะประทับที่พลับพลาชั่วคราวในดงไผ่ บริเวณ มหาวิทยาลัยศิลปากรปัจจุบัน หรือมิฉะนั้น ก็จะประทับที่พระตำหนักบังกะโล ซึ่งอยู่ตรงมุมถนนขวาองค์พระ ใกล้กับสถานีตำรวจ ซึ่งปัจจุบันพระตำหนัก หลังนี้ได้รื้อลงหมดแล้ว พระองค์โปรดฯ การทรงม้าพระที่นั่ง สำรวจท้องที่เป็นอย่างมาก บางครั้งก็เสด็จไปที่ ตำบลวัดทุ่งพระเมรุ แต่ส่วนใหญ่โปรดเสด็จไปที่บริเวณ พระราชวังสนามจันทร์ ซึ่งแต่เดิมเป็นที่ของชาว บ้านปลูกพืชไร่และพืชล้มลุก เช่น กล้วย สับปะรด ไว้มากมาย สลับกับทุ่งหญ้ารกเรื้อและป่าไผ่ขึ้นเป็นดง ทรงพอพระราชหฤทัยมาก เห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะสมจะสร้างเป็น ที่ประทับถาวรในการเสด็จฯแปรพระ ราชฐาน จึงรับสั่งขอซื้อจากชาวบ้านเจ้าของที่โดยใช้เงินจากพระคลังข้าง ที่ทั้งสิ้น พระราชประสงค์ ในการ ซื้อที่ดินจำนวนมากมาย เพื่อสร้างพระราชวังสนามจันทร์ครั้งนี้มิใช่จะเห็นแก่ ความสุขสบายส่วนพระองค์ ในการเสด็จฯ แปรพระราชฐานเท่านั้น แต่เพราะทรงมีพระราชดำริที่ลึกซึ้ง นั่นก็ คือ ทรงเห็นว่านครปฐม เป็นเมืองที่มีชัยภูมิ เหมาะสำหรับต้านทานข้าศึกซึ่งจะยกเข้ามาทางน้ำได้อย่างดี ด้วย ทรงจดจำเหตุการณ์ เมื่อ ร.ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสนำเรือรบเข้ามาปิดปากอ่าวไทยได้ และไม่ต้องการที่จะให้ประ เทศไทยตกอยู่ใน สภาพดังกล่าว จึงตั้งพระทัยที่จะสร้างพระราชวังสนามจันทร์ไว้สำหรับเป็นเมืองหลวงที่สอง เมื่อประเทศ ชาติประสบปัญหาวิกฤติ พระราชวังสนามจันทร์ เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2450 มีหลวงพิทักษ์มานพ (น้อย ศิลปี) ซึ่งต่อมาได้ เลื่อนยศเป็น พระยาศิลป์ประสิทธิ์ เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างพระที่นั่ง ซึ่งสร้างแล้วเสร็จและพระราชทาน นามตามประกาศ ลงวันที่ 27สิงหาคม 2454 มีเพียง 2 พระที่นั่ง ได้แก่ พระที่นั่งพิมานปฐม และพระที่นั่ง อภิรมย์ฤดี ต่อมาจึง สร้างเพิ่มเติมจนมีเท่าที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน แม้จะสร้างพระที่นั่งต่าง ๆ เสร็จสมบูรณ์ ตามพระราชวังแต่เก่า ก่อน เพิ่งจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธียกพระมหาเศวตฉัตรขึ้นประดิษฐาน เหนือพระแท่นรัตนสิงหา สน์ ภายในพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2466 เวลา 4 นาฬิกา 47 นาที 51 วินาที พระ ราชวังสนามจันทร์ มีอาณาเขตกว้างขวาง ประกอบด้วยสนามใหญ่อยู่กลาง มีถนนโอบเป็นวงโดยรอบมีคูน้ำ ล้อมอยู่ชั้นนอก ส่วนพระที่นั่งต่าง ๆ นั้นรวมกันอยู่ส่วนกลางของพระราชวัง เท่าที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันได้แก่ พระที่นั่งพิมานปฐม เป็นพระที่นั่งองค์แรกที่สร้างขึ้นในพระราชวังสนามจันทร์ ตัวอาคารก่ออิฐ- ถือปูน เป็น ตึก 2 ชั้น แบบตะวันตก ทรงใช้เป็นที่ประทับตั้งแต่ยังไม่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ ห้องต่าง ๆ บนพระที่นั่งมี ห้องบรรทม ห้องสรง ห้องเสวย ห้องภูษา ฯลฯ และในพระที่นั่งพิมานปฐมนี้เอง ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ประทับทอดพระเนตร เห็นปาฏิหาริย์ขององค์พระปฐมเจดีย์บนแท่น ไม้สักมีขนาด 2 เมตร ชื่อว่า "พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย์ ์" ขณะนี้ทางการได้รื้อไปตั้งไว้ที่หน้าพระที่นั่ง พุทไธสวรรย์ในพิพิธภัณฑ สถานแห่งชาติ ส่วนพระที่นั่งพิมานปฐมนั้น ในปัจจุบันใช้เป็นสวนหนึ่งของ ศาลากลางจังหวัดนครปฐม

เพชรบุรี วัดกำแพงแลง

วัดกำแพงแลง อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 2 กิโลเมตร วัดนี้เดิมเป็นเทวสถานในสมัยขอม สร้างตามลัทธิศาสนาพราหมณ์ ต่อมาเมื่ออิทธิพลของศาสนาพุทธได้แผ่ขยายเข้ามาในบริเวณนั้น จึงได้ดัดแปลงเทวสถานแห่งนี้เป็นศาสนสถานในพุทธศาสนานิกายมหายาน และหินยานตามลำดับ เทวสถานที่สร้างขึ้นเดิมมีปรางค์ 5 หลัง ทำด้วยศิลาแลง ปัจจุบันเหลือเพียง 4 หลัง สันนิษฐานว่าปรางค์แต่ละหลังใช้เป็นที่ประดิษฐานเทวรูป เช่น พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม พระนางอุมา เพราะเมื่อ พ.ศ. 2499 มีผู้ขุดพบรูปสลักของพระนางอุมาในปรางค์องค์หนึ่งที่พังลง วัดนี้เมื่อดัดแปลงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาแล้วได้สร้างพระอุโบสถขึ้น โดยมิได้เปลี่ยนสภาพเดิมไปมากนัก จะเห็นได้ว่ารอบ ๆ วัด ยังมีกำแพงที่ก่อด้วยศิลาแลงล้อมรอบอยู่

เพชรบุรี ถ้ำเขาหลวง

ถ้ำเขาหลวง ตั้งอยู่ที่อยู่บนเขาหลวง ห่างจากเขาวังประมาณ 5 กิโลเมตร จากเชิงเขามีบันไดคอนกรีตนำสู่ทางลงถ้ำ เขาหลวงเป็นภูเขาขนาดเล็ก มียอดสูงสุดเพียง 92 เมตร มีหินงอกหินย้อย สีสันสวยงาม ภาย ในมีปล่องที่แสง-อาทิตย์สามารถส่องเข้ามาภายในถ้ำได้ ทำให้สวยงามยิ่งขึ้น สำหรับถ้ำเขาหลวง ถือเป็นถ้ำ-ใหญ่และสำคัญที่สุดในเมืองเพชร ภายในถ้ำประดิษฐานพระพุทธรูปฉลองพระองค์อัน สำคัญยิ่ง ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า-อยู่หัว โปรดให้สร้างถวาย พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถ้ำแห่งนี้เคยเป็นที่เสด็จ ประพาสมา ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 พระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงโปรดถ้ำเขาหลวงนี้มากโดยทรงบูรณะพระ พุทธรูปเก่าแก่ที่มีมาแต่โบราณ ภายในถ้ำ นี้หลายองค์ด้วยกัน และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างบันไดหินลงไปในถ้ำ ตรงทางเข้าเชิงเขาหลวงนั้น ขวามือมีวัดใหญ่อยู่วัดหนึ่งชาวเมืองเรียกว่า "วัดถ้ำแกลบ" ปัจจุบันคือ "วัดบุญทวี" ซึ่งเป็นวัดใหญ่ น่าชมมาก เพราะท่านเจ้าอาวาสวัดนี้ท่านเป็นช่าง ได้ออกแบบศาลาการเปรียญและ ได้สร้างสำเร็จเป็น ศาลาการเปรียญที่ใหญ่มาก และประตูโบสถ์เป็นไม้สลักลายสวยงามมาก วัดถ้ำแกลบนี้ มีตำนานเล่าว่า ปากถ้ำแกลบที่วัดนี้คือทางเข้าสู่เมืองลับแลอันเป็นเมืองที่มีแต่หญิงสาวทั้งนั้น แต่ก็เป็นเพียง ตำนาน ของชาวเมืองเพชรนับร้อย ๆ ปี มาแล้ว

หาดปึกเตียน เพชรบุรี



หาดปึกเตียน อยู่ในท้องที่ตำบลปึกเตียน ห่างจากหาดเจ้าสำราญไปทางใต้ประมาณ 7 กิโลเมตร หรือสามารถเดินทางไปทางถนนเพชรเกษมถึงอำเภอท่ายางแล้วเลี้ยวซ้ายตรงสี่แยกคลองชลประทานสาย 2 ไปตามถนนนี้ประมาณ 15 กิโลเมตร บริเวณหาดปึกเตียนเป็นหาดทรายขาว สะอาด เหนือหาดมีลำคลองปึกเตียนไหลผ่าน

การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ขับมุ่งตรงสู่ จ.เพชรบุรี โดย ใช้ถนนเพชรเกษม ( ทางหลวงหมายเลข 4 ) ผ่าน จ.นครปฐม จ.ราชบุรี โดยท่านสามารถวิ่งเข้าตัวเมืองเพชรบุรีได้เลยครับ เพชรบุรี จากนั้นเขาตรงมาเพื่อมุ่งหน้าไปหาดเจ้าสำราญ ซึ่งท่านจะต้องผ่าน ม.ราชภัฏเพชรบุรี จากนั้นก่อนถึงหาดเจ้าสำราญประมาณ 2 กม. จะมีป้ายบอกไปแยกทางขวามือของท่านนะครับ (ท่านต้งอกำลังมุ่งหน้าสู่หาดเจ้าสำราญ) จะมีป้ายบอกหาดปึกเตียน ท่านขับไปอีกประมาณไม่ถึง 10 กม. จะมีป้ายบอกไปหาดปึกเตียนให้ท่านเลี้ยวซ้ายไปได้เลยครับเข้าไปอีกไม่ไกลก็จะถึงหาดปึก


นครปฐม อนุสาวรีย์ย่าเหล

อนุสาวรีย์ย่าเหล เป็นรูปหล่อด้วยโลหะขนาดเท่าตัวจริงของสุนัข ซึ่งมีความผูกพันใกล้ชิดกับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว เป็นอย่างยิ่ง ย่าเหลเป็นสุนัขพันธุ์ทางเกิดในเรือนจำ จังหวัดนครปฐม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพบเข้าเมื่อครั้งเสด็จฯ ตรวจเรือนจำ จึงนับว่าเป็นโชคของย่าเหลที่ทรงพอพระราชหฤทัย และทรงเอาย่าเหลมาเลี้ยงไว้ในราชสำนัก ย่าเหล เป็นสุนัขที่เฉลียวฉลาด และจงรักภักดีต่อพระองค์ท่านจน เป็นที่โปรดปรานมาก เป็นเหตุให้มีผู้อิจฉาริษยาและถูกยิงตายในที่สุด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโศกเศร้าอาลัยย่าเหลมาก โปรดเกล้าฯให้หล่อรูปย่า-เหลด้วยทองแดง ตั้งไว้หน้าพระตำหนักชาลีมงคล อาสน์ และทรงพระราชนิพนธ์กลอนไว้อาลัยย่าเหลไว้ที่แท่นใต้รูปนั้นด้วย นอกจากนี้แล้ว ภายในพระราชวัง สนามจันทร์ยังมีบ้านพักข้าราชบริพารทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ที่ ตามเสด็จเสมอในครั้งก่อน บ้านพักเหล่านี้ บางหลังก็ชำรุดทรุดโทรมมาก แต่หลายหลังยังอยู่ในสภาพดี ที่ เห็นได้ก็คือ บ้านพักเจ้าพระยารามราฆพ ผู้ สำเร็จราชการมหาดเล็ก ซึ่งครั้งนั้นเรียกว่า " ทับเจริญ" ปัจจุบัน นี้ได้ใช้เป็นสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด นครปฐม

สุพรรณบุรี ตลาดสามชุก ตลาด 100ปี

ตลาด 100 ปี




ถึงนามสามชุกถ้า ป่าดง
เกรียงไร่ได้พ่ายลง แลกล้ำ
เรือค้าเท่านั้นคง คอยเกรียงเรียงเอย
รายจอดทอดท่าน้ำ นับฝ้ายขายของ
( จากโครงนิราศสุพรรณ ของสุนทรภู่ )

จากคำประพันธ์ที่ยกมานี้ แสดงว่าสามชุกนั้นมีมาก่อน พ.ศ. 2379 กว่า 100 ปีที่ผ่านมา ตลาดสามชุกคือ จุดแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างชาวเรือและพวกชาวกะเหรี่ยง ลาว ละว้า ที่อาศัยอยู่แถบตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน สินค้าที่นำมาแลกเปลี่ยนจากชาวเรือ เช่น เกลือ ปูน ส่วนชาวบ้านก็จะนำพืชผลจากป่า เช่น ข้าว ฝ้าย แร่ ไม้ฝาง หนังสัตว์ ชันช่อ น้ำมันยาง สมุนไพร ฯลฯ จุดแลกเปลี่ยนนั้นอยู่ที่บ้านท่ายางบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ตรงข้ามวัดสามชุก ต่อมามีผู้มาตั้งบ้านเรือนร้านค้าที่บ้านสามเพ็ง ( ตลาดสามชุกปัจจุบัน ) มากขึ้น ๆ จนทำให้จุดแลกเปลี่ยนสินค้าที่บ้านท่ายางต้องเลิกราไป สามเพ็งจึงกลายเป็นตลาดที่มีการซื้อขายสินค้าแทน สามชุก…สีชุก…กระชุก…ความหมายคือภาชนะขนาดใหญ่สานจากไม้ไผ่สำหรับใส่สิ่งของ เช่น ข้าว ฝ้าย เป็นรูป “ ฟักตัด ” ลองนึกถึงรูปฟักผ่าครึ่งแล้วตั้งขึ้น หรือผ่าตามยาวแล้ววางนอนลง วางซ้อนกันบนเกวียน ใช้รถบรรทุกข้าวเปลือกได้ครั้งละ 100 ถัง นี่คืออีกนับหนึ่งของที่มาชื่อสามชุก แต่คำว่า “ สามเพ็ง ” ซึ่งปรากฏในนิราศสุพรรณ ของสุนทรภู่ ซึ่งแต่งในปี พ.ศ. 2379 ปรากฏขึ้นก่อนจะมีตลาดริมน้ำ วึ่งเป็นชุมชนใหญ่แหล่งค้าขายที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วย ข้าว ฝ้าย และถ่าน ชาวจีนเรียกตลาดนี้ว่า “ ซัมเพ็ง ” กว่า 50 ปีที่ตลาดสามชุก เป็นศูนย์รวมของการคมนาคมทางน้ำที่ใหญ่เป็นรองเฉพาะอำเภอเมืองเท่านั้น ประชาชนจากอำเภอสามชุก หนองหญ้าไทร ด่านช้าง จะมาลงเรือ ขึ้นเหนือล่องใต้ จะมีเรือบริษัทสุพรรณขนส่ง จำกัด ( เรือสีเลือดหมู ) และเรือแดงที่วิ่งระยะยาว ขึ้นเหนือไปทางประตูน้ำท่าโบสถ์ จังหวัดชัยนาท และล่องใต้ไปกรุงเทพฯ มีเรือแท็กซี่วิ่งรับส่งคนระยะสั้น ๆ เรือขนส่งสินค้าจะจอดรายเรียงเต็มริมฝั่งท่าน้ำ ถนนเรียบนที คือถนนเรียบแม่น้ำท่าจีนจะมีสินค้าวางขายเต็มไปหมดทั้งที่วางขายในร้านและวางขายริมทางโดยเฉพาะของกินจะมีมากมายตั้งติดต่อกันตลอดแนวถนน ผู้คนจะเดินเบียดเสียดกัน บ้าวก็เดินหาซื้อของใช้ อาหารการกิน บางส่วนเตรียมลงเรือ การค้าขายเจริญรุ่งเรืองมาก แม่ค้าข้าวเหนียว เมื่อถึงฤดูมะม่วงสุกจะนึ่งข้าวเหนียววันละเป็นกระสอบ เศรษฐกิจของตลาดสามชุกดีมาก มีธนาคารถึง 7 แห่งเป็นเครื่องยืนยัน

ตลาดสามชุกในปัจจุบันกว่า 100 ปี การคมนาคมทางน้ำลดน้อยลง ความคึกคักจอแจของตลาดสามชุกก็หายไปด้วย ผู้คนเดินเข้ามาจับจ่ายใช้สอยในตลาดน้อยลง แต่ตลาดสามชุกยังเป็นตลาดไม้ขนาดใหญ่ปลูกมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 มีศิลปะการแกะสลักไม้ที่งดงาม เรียงรายเป็นย่านการค้าที่มีความงดงาม และมีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม และยังคงทำหน้าที่เป็นตลาดอย่างสมบูรณ์ให้กับชุมชน แม้จะต้องเผชิญกับปัญหาความทรุดโทรมทางกายภาพไปตามกาลเวลา เมื่อเกิดคณะกรรมการตลาดเชิงอนุรักษ์ขึ้นและได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิชุมชนไท ตลาดสามชุกได้รับการพัฒนา ในด้านความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของการจัดวางสินค้า จัดกิจกรรมต่าง ๆ โดยให้ประชาชนเป็นส่วนร่วมตลาดสามชุกถูกฟื้นฟู ให้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ เป็นแบบย่างการพัฒนาที่มาจากฐานราก เป็นสถานที่ท่องเที่ยวด้านอนุรักษ์ของเก่า มีสถาปัตยกรรมเก่าแก่ที่งดงามรวมทั้งวิถีชีวิตพื้นบ้าน มีทั้งกลุ่ม / องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น องค์กรชุมชนจากต่างประเทศ ผู้สื่อข่าวโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ นักเขียนวารสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ของเก่า และนักศึกษาด้านการพัฒนาจากมหาวิทยาลัยด้านต่าง ๆ ได้มาศึกษาดูงานกันอย่างต่อเนื่อง สร้างความรู้สึกภูมิใจในสักยภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับคณะกรรมการและประชาชนชาวสามชุกเป็นอย่างมาก สามชุกเป็นตลาด 100 ปีที่มีคุณค่ามีชีวิตชีวา เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของเยาวชนและคนทั่วไป ชาวสามชุกภูมิใจและจะรักษาไว้ให้นานเท่านานเพื่อตอบแทนสนองพระคุณของบรรพบุรุษที่เป็นรากเหง้าของชาวสามชุก


ข้าวห่อใบบัว " ร้านพี่หรั่ง "

ข้าวห่อใบบัวสูตรดั้งเดิม ปัจจุบันหาทานได้ยากเต็มที คัดสรรข้าวหอมมะลิอย่างพิถีพิถัน พร้อมเครื่องปรุงสูตรดั้งเดิม ร้านนี้อยู่บริเวณ ตลาดถนนเลียบนที อยู่หลังร้านบะหมี่เจ๊กอ้าว ข้าวห่อใบบัว ขายเฉพาะวันอาทิตย์ วันธรรมดา จะขายข้างแกงและอาหารตามสั่ง


“ หยอง ” ทำกระดุมด้วยมือ

ร้านหยองตั้งอยู่เลขที่ 217 หมู่ 2 ซอย 8

ป้าหยองหรือสิริ สรรพคุณานนท์ ( แซ่คู ) อายุ 55 ปี เรียนจบช่างตัดเสื้อผ้า เปิดร้านตัดเสื้อและทำกระดุมมานานพอสมควร ในร้านยังมีจักรเย็บผ้ารุ่นเก่าใช้งานได้อยู่ ในสมัยก่อนกระดุมสำเร็จรูปไม่มี ต้องสั่งทำ คนจึงนิยมทำกระดุมมาก เพราะต้องใช้กระดุมที่เข้ากับชุดได้ เป็นกระดุมที่ลูกคาอยากให้เหมือนกับตัวผ้า ถือเป็นของแพงอีกด้วย และเหตุเพราะร้านทำกระดุมหายาก อาศัยบอกกันปากต่อปาก คนจากต่างถิ่นจึงมาที่ตลาดสามชุก ต่อมาก็รับทำกรอบพระ เลี่ยมทอง เอาข้าวสารมาขายด้วยความที่เป็นคนเก็บของใช้ที่มีความประทับใจ ภายในร้านหยองจึงมีตู้สะสมของเก่าเก็บไว้โชว์หน้าร้านเป็นของที่หาดูได้ยากในปัจจุบัน และของรักของหวงก็คือ กล้องถ่ายรูปจิ๋วและซออู้ ป้าหยองเป็นคนที่ชอบเล่นดนตรี ยามว่างจากการตัดเย็บสามารถเล่นกีตาร์คลาสสิก

กล้องถ่ายรูปจิ๋วขนาดเล็กมาก กว้าง 4.5 ยาว 6.5 เซนติเมตร ใช้ฟิล์มขนาด 16 มิลลิเมตร ซื้อจากร้านศึกษาธิการตลาดซอย 1 สมัยยังเป็นเด็กนักเรียน กล้องราคาร้อยกว่าบาท ซออู้ อายุประมาณ 30 กว่าปีมาแล้ว เพื่อนของป้าหยองนำมะพร้าวซอมาให้ จึงนำไปให้ช่างแกะสลักและทำซอ เป็นกะลาซอตัวผู้ขนาดค่อนข้างใหญาและกรมแป้น ใช้ทำเป็นกะลาซออู้หรือซอสามสาย โดยขูดจนผิวเป็นมันหรือแกะสลักเป็นลวดลายเพื่อความสวยงาม มีคันซอสวมอยู่บนกะลา ด้านหน้าหรือปากกะลาขึงด้วยหนังวัวหรือหนังควาย กะลาซอบางทีเรียกกะโหลกซอ

คูเซ่งฮวด

“ คูเซ่งฮวด ” หรือร้านนายไผ่ เลขที่ 242 หมู่ 2 ซอย 3

เป็นร้านขายของใช้และสินค้าไทย ๆ คูหาตรงข้ามเรียกร้านนายไผ่ ขายพวกถ้วยชาม เครื่องใช้ในครัว ตะเกียงทำด้วยกระป๋องนม ตะเกียงโป๊ะ บัวรดน้ำ โหลแก้วใส่ของขายของมานานหลายสิบปีแล้ว

เจ้าของร้านคือ คุณลุงสุวรรณ คูหาพัฒนกุล อายุ 65 ปี เล่าว่าร้านนี้เปิดตั้งแต่สมัยเตี่ยซึ่งเป็นคนจีน ขายข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ เครื่งครัวและอุปกรณ์การเกษตรยังเก็บตะเกียงลาน เตารีดถ่าน รถเข็นไม้ซึ่งเป็นของใช้ในบ้านอยู่ และยังเก็บขวดนมเด็กสมัยก่อนทำจากแก้วเอาไว้อีกด้วย

ร้านกาแฟท่าเรือส่ง

( ศิวะนันต์พานิช ) เลขที่ 1 ซอย 1

ร้านกาแฟท่าเรือส่ง เจ๊ชั่ง ศิวะนันต์วงษ์ อายุ 67 ปี และเจ๊ม่วยเล็ก ศิวะนันต์วงษ์ อายุ 51 ปี เดิมมีร้านกาแฟอยู่ที่ท่าเรือส่งแต่ขายดี ต่อมาเมื่อการคมนาคมทางเรือเลิกไป จึงมาเปิดขายที่ร้ายของน้องชายคนที่ 3 เปิดร้านก่อสร้างชื่อศิวะนันต์พานิช ร้านนี้เปิดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2508 ขายตั้งแต่ราคาสามสตางค์ ห้าสตางค์ ตอนนี้ราคา 7-10 บาท ร้านเปิดตั้งแต่ 7 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็น วันหนึ่ง ๆ เปลี่ยนคนชงสามกะผลัดกันดูแลร้าน เจ๊ชั่งถือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการชงกาแฟมีความคล่องแคล่วมาก ร้านนี้เป็นสถานที่พบปะแลกเปลี่ยนพูดคุยของชาวตลาดก็ว่าได้

ร้านนี้พลาดไม่ได้ กาแฟสูตรโบราณ โอเลี้ยง ชาเย็น อร่อยทั้งนั้น ข้อสำคัญร้านนี้คั่วกาแฟเอง สูตรลับเฉพาะคั่วกันเห็นๆบริเวณริมน้ำ บรรยากาศภายในร้าน ท่านจะได้ชมสภากาแฟตัวจริงและวิถีชีวิตชาวตลาดได้เต็มอิ่ม เปิดขายกันตั้งแต่เช้าตรู่จนถึงเย็น

บ้านขุนจำนงจีนารักษ์

ขุนจำนงจีนารักษ์ นามเดิมว่า หุย แซ่เฮง เป็นคนจีนเกิดในประเทศไทย ใกล้วัดโพธิ์คอย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ประกอบอาชีพค้าขาย มีโรงเหล้าและโรงยาฝิ่น เมื่อเยาว์วัยศึกษาเล่าเรียนที่ประเทศจีน กลับเมืองไทยเมื่ออายุ 20 กว่าปี ต่อมาได้สมรสกับคุณกุ้นเอง แซ่เจ็ง เป็นคน อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี มีบุตรธิดา 3 คน ต่อมาได้เช่าที่ราชพัสดุปลูกบ้าน 3 ชั้นใน พ.ศ. 2459 กิจการค้าขายของท่านเจริญรุ่งเรืองไปถึง 6 อำเภอ ท่านจึงเป็นที่รุ้จักของบุคคลทั่วไป ประกอบกับท่านเป็นคนดี มีเมตตาช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก จึงได้เป็นผู้นำชุมชน คุณงามความดีของท่าน ทำให้ท่านได้รับบรรดาศักดิ์ เป็น ขุนจำนงจีนารักษ์ ตำแหน่งกรรมการพิเศษ จ.สุพรรณบุรี นายอากรสุรา - ฝิ่นศักดินา 400 ไร่ จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 8 พฤษจิกายน พ.ศ. 2474 เมื่อรัฐบาลประกาศยกเลิกการสูบฝิ่น ท่านจึงหันมาทำสวนทำไร่ และเสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2517 รวมอายุได้ 83 บ้านของท่านในส่วนของคุณเคียวยี้ ซึ่งเป็นบุตรสาวของนายโต้วซ้ง จีนารักษ์ อนุญาตให้กรรมการพัฒนาตลาดสามชุก ปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์โดยใช้ชื่อ “ พิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงจีนารักษ์ ” ซึ่งใช้เป็นสถานที่เก็บของโบราณ สำหรับผู้สนใจเข้าชมเพื่อศึกษาหาความรู้มาจนถึงปัจจุบันนี้

พิพิธภัณฑ์ตลาดมีชีวิตหรือบ้านพูดได้ นับเป็นสิ่งที่สำคัญมากแห่งหนึ่งต้องใช้ผู้มีความรู้ความสามารถ ใช้เวลาและความร่วมมือของชาวตลาด นอกจากนั้นยังต้องศึกษาดูงาน การจัดการพิพิธภัณฑ์ตามที่ต่าง ๆ เพื่อจะได้มีความรู้ในการศึกษาของเก่า การบริหารจัดการ การนำเสนอและการวางแผนด้านบริการ การทำ “ บ้านพูดได้ ” เป็นการให้บ้านแต่ละหลังบอกเล่าประวัติเรื่องราวชีวิตของผู้ที่เคยอยู่อาศัยในบ้านผ่านรูปภาพ ข้าวของเครื่องใช้ และของดีที่เจ้าของภูมิใจ คณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุกได้ประชาสัมพันธ์ให้ชาวตลาดได้ทราบถึงเป้าหมายของโครงการ ในช่วงแรกได้บ้านที่ยินดีเข้าร่วมโครงการจำนวน 22 หลัง โดยตั้งอยู่ในซอยต่าง ๆ ตลาดป้าจู และคณะกรรมการจะนำป้ายบรรยายของแต่ละบ้าน ไปติดแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน สำหรับพิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงนั้น ต้องพิถีพิถันกันมากในการปรับปรุง โดยจัดหาช่างพื้นบ้านที่มีความชำนาญ ขอคำแนะนำจากอาจารย์สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตสุพรรณบุรี สถาปนิกชุมชน โดยการสนับสนุนมูลนิธิชุมชนไท และผู้เชี่ยวชาญด้านพิพิธภัณฑ์ของหน่อยศิลปากรประจำจังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการจากมูลนิธิชุมชนไท คอยช่วยประสานงานคณะกรรมการทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจกันอย่างเต็มความรู้ ความสามารถ พิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงเป็นอาคาร 3 ชั้น
ชั้นที่ 1 แสดงความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสามชุก
ชั้นที่ 2 แสดงเรื่องราวของครอบครัว ขุนจำนง จีนารักษ์
ชั้นที่ 3 จัดเป็นที่ประชุมสัมนา จัดนิทรรศการหมุนเวียนตามความเหมาะสม การทำบ้าน
การทำบ้านพูดได้เป็นการปัดฝุ่นของเก่าที่ถูกซุกซ่อนอยู่ตามหลืบซอกของบ้านต่าง ๆ ในตลาด เป็นการปลูกจิตวิญญาณตลาดผ่านบ้านแต่ละหลังให้ผู้คนในบ้านรู้สึกถึงความสืบเนื่องกับอดีตและความรู้สึกกับอดีต และความรู้สึกภาคภูมิใจในบรรพบุรุษครอบครัวและชุมชนของตน

จาก http://www.pantown.com/group.php?display=content&id=18996&name=content1&area=3



วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

จดหมายลากิจของนัทเองค่ะ



นัทต้องไปเชียงใหม่กับครอบครัวช่วงสุดสัปดาห์นี้ และยังต้องกลับมาสอบเข้าโรงเรียน มอ วิทย์ วุ่นวายมากๆ เลย และที่สำคัญคือพวกเสื้อแดงก็จะชุมนุมประท้วงด้วยที่นั่น เป็นกำลังใจให้นัทด้วยนะคะเพื่อนๆ


วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

หมากับลิง

แพงจัง ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้น ที่นี่




ที่ตลาดสามชุก มีร้านก๋วยเตี๋ยว ชื่อ นิสา ลูกชิ้นหมู ซอย 1

ขาย ชามละ 85 บาท ให้ลูกชิ้นแค่ลูกเดียว น่าเจ็บใจนัก

ฮึมมมมม

สัตว์เลี้ยงใหม่ของนัทและปอนด์





ด้วงแรดมะพร้าว ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีน้ำตาลแดงเกือบดำ มีขนสีน้ำตาลอ่อนที่ด้านข้างของส่วนหัว อก ขา และด้านล่างของลำตัว เพศผู้มีเขาคล้ายนอแรดที่ส่วนหัวค่อนข้างยาว เพศเมียคล้ายกับเพศผู้ แต่มีเขาสั้น และที่ส่วนปลายของท้องด้านล่างมีขนหนาแน่นกว่าในเพศผู้ เขตแพร่กระจาย พบกว้างขวางในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขนาด 37-45 มิลลิเมตร การเพาะเลี้ยง เนื่องจากด้วงตัวเต็มวัยเป็นแมลงศัตรูพืชพบเจาะกินยอดอ่อนมะพร้าว และปาล์มน้ำมัน ทำให้ยอดมะพร้าวที่แตกออกมาเห็นใบหักเสียหาย ทางมะพร้าวและปาล์มที่ตัดกองไว้ในสวนเป็นแหล่งเพาะอาศัยของด้วง โดยการวางไข่ และเมื่อฟักเป็นหนอนก็จะเจริญเติบโตกัดกินอยู่ด้านล่าง หรือกินอยู่ในตอมะพร้าว ด้วงชนิดนี้หาง่ายพบทั่วไปแม้ในเมือง เป็นด้วงที่เหมาะสำหรับมือใหม่ที่จะลองเลี้ยง เพราะเลี้ยงง่ายมาก อาหารที่ใช้เลี้ยงหนอนกว่างสามารถเติมขุยมะพร้าวลงไปด้วยเพื่ิอลดค่าใช้จ่ายจากไม้ผุบดลงไปได้ มูลที่หนอนถ่ายออกมาไม่เป็นก้อนแน่นเหมือนกับมูลของกว่างชน ไข่ทรงกลมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-4มิลลิเมตร และฟักภายใน 7-8 วัน มีผู้รายงานไว้ว่าหนอนมีอายุประมาณ 3-4 เดือนอย่างไรก็ตาม หนอนที่เก็บมาจากราชบุรีปลายปี 2551 เลี้ยงด้วงอาหารด้วงกว่างมีอายุ 5-7 เดือนใกล้เคียงกับกว่างชนมาก ดักแด้นาน 1 เดือน เพิ่งออกมาเป็นตัวเต็มวัยหลายตัวในขณะนี้

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันนี้นัทเป็นลมที่โรงเรียนด้วย



สืบเนื่องจากเมื่อวาน เล่นปิงปองกับปังปอนด์และปะป้า จนดึก แล้วนอนดึกด้วย
เช้านี้ กินข้าวไม่ได้มาก เที่ยงก็ทานอาหารที่ โรงเรียนไม่ได้ เพราะว่าเผ็ด

นัทเลยกินโออิชิไป สองกล่อง พอประทังหิว

วันนี้คุณครูให้เข้ากองเพื่อเตรียมพร้อมไปเข้าค่าย แดดร้อนและเพลียมากเลย

นัทเริ่มปวดหัวตั้งแต่เที่ยงแล้ว หวิวๆ

พอโดนแดด แดร๊กคูล่า ในกระแสเลือดนัทก็แผลงฤทธิ์ทันที

นัทหวิวๆ ผิวการร้อนผ่าว เพราะโดนแดด มือเท้าเริ่มเย็นชืดสีผิวเริ่มเหมือนงู (ยังดีที่ไม่มีเกร็ดผุดออกมาให้เห็น ม่ายงั้นเพื่อนๆ และครูคงวิ่งกันกระเจิง --- พูดเล่น แหม อย่าเอาเป็นจริงเป็นจังดิ)

ใจเต้นเร็วขึ้น มือเท้าเริ่มเย็น ปวดหัวมากขึ้น ไม่ได้การแล้ว นัทกำลังจะแปลงร่าง --- เอรี๊ยะ


โชคดีที่ ป่าป้า กับม่าม้า มาหานัท เลยเอาน้ำมนต์ สเลอปี้ ให้ทาน นัทเลย ความคุมลมปราณ ไม่ให้กลายร่างได้


แล้วก็เลยกลับมายังปราสาทของนัท เพื่อชาจ์แบตต่อไป อิ อิ อิ

หวังว่าเพื่อนๆ นัท คงไม่เป็นห่วงนัท มากเกินไปนะคะ

ขอบคุณคุณครูและเพื่อนๆ ด้วยค่ะ ที่เป็นห่วง





วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันนี้เพื่อนนัทมาถล่มบ้านค่ะ

วันนี้รวมหัวกันจะมาซ้อมเต้น เล่นดนตรี ตั้งแต่เช้าแล้ว ยังไม่ได้ย้ายตูดไปเต้นเลย ชักจะยังไงๆ แล้ว

หวังว่าวันนี้จะได้เต้นซักรอบนะ แค่รอบเดียวก็ถือว่าผ่านจุดประสงค์แล้ว เอื้อกกกก


ม่าม้า กับป่าป้า เหล่มองแล้ว ว่าเมื่อไหร่จะทำงานกันซะที คริ คริ คริ

test

test

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ศิลปะ

417668topic0417668topic1417668topic2417668topic3417668topic4417668topic5