วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

นครปฐม พระราชวังสนามจันทร์

พระราชวังสนามจันทร์ ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ ไปทางทิศตะวันตกราว 2 กิโลเมตร มีพื้นที่ 888 ไร่ 3 งาน 24 ตารางวา พระราช วังแห่งนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตั้งแต่ยังทรงดำรง พระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งมี มูลเหตุจูงใจมาจากการบูรณะปฏิสังขรณ์ องค์พระปฐมเจดีย์ ที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพอพระราชหฤทัยเมืองนครปฐมเป็น อย่างยิ่ง ทรงเห็นว่าเป็นเมืองที่เหมาะสมสำหรับประทับพักผ่อน เนื่องจากมีภูมิประเทศสวยงามร่มเย็น ดังที่ได้ ทรงไว้ในลายพระหัตถ์ เรื่องการแก้ไขวิหารหลวงตอนหนึ่งว่า "ในรัชกาลที่ 5 ฉันได้ออกไปพักอยู่ที่เมืองนคร ปฐมบ่อย ๆจึงได้ใฝ่ใจในองค์พระนั้นมากแต่นั้นมา" เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นพระบรมโอรสาธิราชฯ และ ยังไม่ได้สร้างพระราชวังสนามจันทร์ เวลา เสด็จนครปฐมมักจะประทับที่พลับพลาชั่วคราวในดงไผ่ บริเวณ มหาวิทยาลัยศิลปากรปัจจุบัน หรือมิฉะนั้น ก็จะประทับที่พระตำหนักบังกะโล ซึ่งอยู่ตรงมุมถนนขวาองค์พระ ใกล้กับสถานีตำรวจ ซึ่งปัจจุบันพระตำหนัก หลังนี้ได้รื้อลงหมดแล้ว พระองค์โปรดฯ การทรงม้าพระที่นั่ง สำรวจท้องที่เป็นอย่างมาก บางครั้งก็เสด็จไปที่ ตำบลวัดทุ่งพระเมรุ แต่ส่วนใหญ่โปรดเสด็จไปที่บริเวณ พระราชวังสนามจันทร์ ซึ่งแต่เดิมเป็นที่ของชาว บ้านปลูกพืชไร่และพืชล้มลุก เช่น กล้วย สับปะรด ไว้มากมาย สลับกับทุ่งหญ้ารกเรื้อและป่าไผ่ขึ้นเป็นดง ทรงพอพระราชหฤทัยมาก เห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะสมจะสร้างเป็น ที่ประทับถาวรในการเสด็จฯแปรพระ ราชฐาน จึงรับสั่งขอซื้อจากชาวบ้านเจ้าของที่โดยใช้เงินจากพระคลังข้าง ที่ทั้งสิ้น พระราชประสงค์ ในการ ซื้อที่ดินจำนวนมากมาย เพื่อสร้างพระราชวังสนามจันทร์ครั้งนี้มิใช่จะเห็นแก่ ความสุขสบายส่วนพระองค์ ในการเสด็จฯ แปรพระราชฐานเท่านั้น แต่เพราะทรงมีพระราชดำริที่ลึกซึ้ง นั่นก็ คือ ทรงเห็นว่านครปฐม เป็นเมืองที่มีชัยภูมิ เหมาะสำหรับต้านทานข้าศึกซึ่งจะยกเข้ามาทางน้ำได้อย่างดี ด้วย ทรงจดจำเหตุการณ์ เมื่อ ร.ศ. 112 ที่ฝรั่งเศสนำเรือรบเข้ามาปิดปากอ่าวไทยได้ และไม่ต้องการที่จะให้ประ เทศไทยตกอยู่ใน สภาพดังกล่าว จึงตั้งพระทัยที่จะสร้างพระราชวังสนามจันทร์ไว้สำหรับเป็นเมืองหลวงที่สอง เมื่อประเทศ ชาติประสบปัญหาวิกฤติ พระราชวังสนามจันทร์ เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2450 มีหลวงพิทักษ์มานพ (น้อย ศิลปี) ซึ่งต่อมาได้ เลื่อนยศเป็น พระยาศิลป์ประสิทธิ์ เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างพระที่นั่ง ซึ่งสร้างแล้วเสร็จและพระราชทาน นามตามประกาศ ลงวันที่ 27สิงหาคม 2454 มีเพียง 2 พระที่นั่ง ได้แก่ พระที่นั่งพิมานปฐม และพระที่นั่ง อภิรมย์ฤดี ต่อมาจึง สร้างเพิ่มเติมจนมีเท่าที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน แม้จะสร้างพระที่นั่งต่าง ๆ เสร็จสมบูรณ์ ตามพระราชวังแต่เก่า ก่อน เพิ่งจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธียกพระมหาเศวตฉัตรขึ้นประดิษฐาน เหนือพระแท่นรัตนสิงหา สน์ ภายในพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2466 เวลา 4 นาฬิกา 47 นาที 51 วินาที พระ ราชวังสนามจันทร์ มีอาณาเขตกว้างขวาง ประกอบด้วยสนามใหญ่อยู่กลาง มีถนนโอบเป็นวงโดยรอบมีคูน้ำ ล้อมอยู่ชั้นนอก ส่วนพระที่นั่งต่าง ๆ นั้นรวมกันอยู่ส่วนกลางของพระราชวัง เท่าที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันได้แก่ พระที่นั่งพิมานปฐม เป็นพระที่นั่งองค์แรกที่สร้างขึ้นในพระราชวังสนามจันทร์ ตัวอาคารก่ออิฐ- ถือปูน เป็น ตึก 2 ชั้น แบบตะวันตก ทรงใช้เป็นที่ประทับตั้งแต่ยังไม่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ ห้องต่าง ๆ บนพระที่นั่งมี ห้องบรรทม ห้องสรง ห้องเสวย ห้องภูษา ฯลฯ และในพระที่นั่งพิมานปฐมนี้เอง ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ประทับทอดพระเนตร เห็นปาฏิหาริย์ขององค์พระปฐมเจดีย์บนแท่น ไม้สักมีขนาด 2 เมตร ชื่อว่า "พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย์ ์" ขณะนี้ทางการได้รื้อไปตั้งไว้ที่หน้าพระที่นั่ง พุทไธสวรรย์ในพิพิธภัณฑ สถานแห่งชาติ ส่วนพระที่นั่งพิมานปฐมนั้น ในปัจจุบันใช้เป็นสวนหนึ่งของ ศาลากลางจังหวัดนครปฐม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น